หน้าเว็บ

ASEAN's Profile

ความเป็นมาของอาเซียน




          อาเซียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ กรุงเทพมหานครฯ ประเทศไทย โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศคือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ประเทศไทยของเรานี่เอง โดยมีตัวแทนของประเทศต่างๆ มาร่วมลงนามก่อตั้งประชาคมอาเซียน ดังนี้
  1. นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย)
  2. นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)
  3. ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย)
  4. นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์)
  5. พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
         ในเวลาต่อมา ก็ได้มีประเทศต่างๆ เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่
  • บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527)
  • เวียดนาม (เป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538)
  • ลาว และพม่า (เป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 23 กรกฎา 2540)
  • กัมพูชา (เป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542)
         ตามลำดับ และจากการที่รับประเทศกัมพูชาเข้ามาเป็นสมาชิก ทำให้ตอนนี้ ประชาคมอาเซียนมีสมาชิกถึง 10 ประเทศด้วยกันนั่นเองครับ...


ความหมายของอาเซียน

          อาเซียนก่อตั้งเพื่อส่งเสริมความร่มมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซัยนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ 


สัญลักษณ์ของอาเซียน (Sign of ASEAN)

          สัญลักษณ์ของอาเซียนคือ รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้นหมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศรวมใจกันเป็นหนึ่งเดียว สีเหลือง หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง , สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและการมีพลวัต , สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ และ สีน้ำเงินหมายถึงสันติภาพและความมั่นคง


นโยบายการดำเนินงานของอาเซียน

         นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ทั้งนี้ในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) หรือ การประชุมของผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เป็นการประชุมระดับสูงสุดเพื่อกำหนดนโยบายในภาพรวม และเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาวซึ่งจะปรากฏเป็นเอกสารในรูปแบบต่างๆ อาทิ แผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ข้อตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา ( Convention) ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส จะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวมและนโยบายเฉพาะด้าน


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น